เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจและเห็นคุณค่าของงานปั้นที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิต อีกทั้งสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ ในมิติที่หลากหลาย และถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นรับรู้เป็นรูปธรรมได้

Week 8

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการปั้นจากสิ่งที่กินได้และมีประโยชน์ต่อร่างกาย และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

Week
Input
Process
Output
Outcome
8
12-16 ธ.ค.59

โจทย์ : 
ปั้นกินได้
- ถั่วต่างๆ
- ข้าวปั้น

คำถาม
การปั้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำอาหาร?

เครื่องมือคิด
-
 Brainstorms : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำขนมลูกชุปและข้าวปั้น
- Blackboard  Share : ขั้นตอนการทำขนมลูกชุปและข้าวปั้น
- Show and Share : นำเสนอชิ้นงานปั้นขนมลูกชุป
-  Wall Thinking : ภาพวาดขั้นตอนการทำขนมลูกชุปและข้าวปั้น

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ถั่วชนิดต่างๆ
- ข้าวเหนียว ข้าวก่ำ
-อุปกรณ์ (น้ำ ผงวุ้น น้ำตาล ไม้จิ้มฟัน กาบกล้วยฯลฯ)
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)

วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “การปั้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำอาหาร?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละจัดกลุ่มพูดคุยกันเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการทำขนมลูกชุป (เมล็ดถั่ว น้ำตาล กะทิฯลฯ) ที่ตนเองได้รับมอบหมายให้จัดเตรียมมา
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำขนมลูกชุป
ใช้
นักเรียนทำขนมลูกชุป
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนปั้นขนมลูกชุปเป็นอะไรบ้าง มีวิธีการปั้นอย่างไร แล้วขนมลูกชุปทำจากอะไร มีรสชาติเป็นอย่างไร?
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำขนมลูกชุปที่ทำร่วมกัน ไปแบ่งปันเป็นของว่างทานสำหรับน้องอนุบาล 1และ 2
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากกิจกรรมที่ได้ทำ
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- ครูให้นักเรียนแต่ละคนนำข้าวเหนียว ข้าวก่ำที่เตรียมมาในวันพุธที่ผ่านมา นำมาแช่น้ำเพื่อทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนทำข้าวปั้น
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเราจะนำข้าวมาปั้นได้อย่างไร?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันนำข้าวที่แช่ไว้เรียบร้อยแล้ว นำมานึ่งจนสุก
- ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม ร่วมกันปั้นข้าวเป็นรูปต่างๆ
- ครูและนักเรียนร่วมกันคั่วมะพร้าวและถั่วดิน เกลือ ด้วยไฟอ่อนๆ จนเหลืองหอม
- ให้นักเรียนแต่ละคนนำข้าวที่ช่วยกันปั้นมาโรยหน้าด้วยมะพร้าวที่คั่วไว้
- ครูและนักเรียนร่วมกันชิมข้าวปั้น
ใช้
นักเรียนเขียนแผนภาพขั้นตอนการทำลูกชุปและข้าวปั้น
วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- จัดเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการทำขนมลูกชุปและข้าวปั้น
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL คู่ขนาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- ปั้นขนมลูกชุป
- ข้าวปั้น
- สรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการปั้นจากสิ่งที่กินได้และมีประโยชน์ต่อร่างกาย และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำเชื้อเพลิงจากขี้วัว รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานปั้นเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้

คุณลักษณะ
:
- เคารพ สิทธิ  หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกัน

ตัวอย่างภาพกิจกรรม

















ตัวอย่างภาพชิ้นงาน







1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นสัปดาห์ที่พี่ป.1 เรียนรู้งานปั้นกินได้จากอาหารที่เติมสีสันและมีคุณค่าทางอาหารจากเมล็ดถั่วเหลือง ทุกคนต่างสนุกและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมงานปั้นได้ดีค่ะ ทั้งปั้นทั้งกินและปั้นไปพร้อม หลังจากที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่างได้นำไปแบ่งปั้นคุณครู น้องอนุบาลและพี่ๆ ได้ชิมกัน ในวันพุธพี่ป.1 ยังได้มีโอกาสออกไปเรียนรู้โลกกว้างที่ศูนย์การเรียนรู้เครื่องปั้นดินเผาบ้านด่านเกวียน ได้รับความรู้ความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับงานปั้นที่แยกลักษณะการเผาเพื่อการใช้งาน และได้ทดลองการปั้นแบบขึ้นรูปด้วยตัวเครื่องมือเฉพาะการทำงานปั้น พี่ป.1 ตื่นเต้นและสนุก ทุกคนได้ทำและสามารถทำงานปั้นในรูปแบบของตนเองได้ดีมากทีเดียวค่ะ พี่ป.1 สามารถที่จะกลับมาถ่ายทอดความเข้าใจผ่านการเขียน การบอกเล่าสื่อสารได้ดี เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น พี่โชว์ ครูครับผมเอาชิ้นงานที่ปั้นไปทดลองเผา ชิ้นงานของผมไม่แตกเลยครับ แต่สีเปลี่ยน พี่ดีดี ครูครับชิ้นงานของผมแตก

    ตอบลบ