เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจและเห็นคุณค่าของงานปั้นที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิต อีกทั้งสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ ในมิติที่หลากหลาย และถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นรับรู้เป็นรูปธรรมได้

Week 6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับเกี่ยวกับวัสดุสังเคราะห์ที่สามารถนำมาปั้น และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

6
21-25 พ.ย.59
โจทย์ : 
 ปั้นจากกระดาษ
- กระดาษ (เช่น กระดาษลัง หนังสือพิมพ์ฯลฯ )
- กระดาษทิชชู

คำถาม
เราจะมีวิธีการทำอย่างไรให้งานปั้นจากกระดาษคงทนและใช้งานได้จริง?

เครื่องมือคิด
-
 Brainstorms : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำดินปั้นจากกระดาษ
- Think Pair Share : การสร้างสรรค์ชิ้นงานปั้นจากกระดาษ
- Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
-  Wall Thinking :งานปั้นจากระดาษ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อ / แหล่งเรียนรู้

- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- กระดาษลัง กระดาษหนังสือพิมพ์
- กระดาษทิชชู
- กาว
 - สี
- น้ำ
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ากระดาษสามารถนำมาปั้นได้หรือไม่ อย่างไร?
- ครูนำอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้  กระดาษลัง หนังสือพิมพ์ฯลฯ กาว น้ำ สีโปสเตอร์ มาให้นักเรียนร่วมกันสังเกตและสัมผัส
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม ร่วมกันทำดินจากกระดาษเพื่อใช้สำหรับปั้น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “กระดาษทำจากอะไร นำไปทำอะไรได้บ้าง ทำไมกระดาษเมื่อนำมาแช่น้ำแล้วถึงเปื่อยยุ่ย เราเติมกาวลงไปเพื่ออะไร คิดว่าจะสามารถนำมาปั้นได้หรือไม่เพราะเหตุใด ทำอย่างไรเมื่อปั้นเสร็จแล้วจะแห้ง” “นักเรียนคิดว่าระหว่างดินกับกระดาษสำหรับการปั้น เหมือนหรือต่างกันอย่างไร”
เชื่อม
- ให้นักเรียนแต่ละคนสร้างสรรค์งานปั้นจากกระดาษในรูปแบบของตนเอง
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกัน
ใช้
นักเรียนปั้นจากกระดาษ
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูนำอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้  กระดาษทิชชู  กาว น้ำ สีโปสเตอร์ มาให้นักเรียนร่วมกันสังเกตและสัมผัส
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม ร่วมกันทำดินจากกระดาษทิชชูเพื่อใช้สำหรับปั้น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “กระดาษทิชชูทำจากอะไร นำไปทำอะไรได้บ้าง ทำไมกระดาษเมื่อนำมาแช่น้ำแล้วถึงเปื่อยยุ่ย เราเติมกาวลงไปเพื่ออะไร คิดว่าจะสามารถนำมาปั้นได้หรือไม่เพราะเหตุใด ทำอย่างไรเมื่อปั้นเสร็จแล้วจะแห้ง” “นักเรียนคิดว่าระหว่างดินกับกระดาษสำหรับการปั้น เหมือนหรือต่างกันอย่างไร”
เชื่อม
- ให้นักเรียนแต่ละคนสร้างสรรค์งานปั้นจากกระดาษในรูปแบบของตนเอง
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกัน
ใช้
นักเรียนสร้างสรรค์งานปั้นจากกระดาษทิชชู
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูให้นักเรียนแต่ละคนนำชิ้นงานปั้นจากกระดาษมาร่วมพูดคุยกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนปั้นจากกระดาษอะไร มีวิธีการทำกระดาษปั้นอย่างไร?
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้
นักเรียนตกแต่งชิ้นงานปั้นจากกระดาษ
วันพฤหัสบดี(1 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเราจะนำกระดาษมาปั้นเป็นเครื่องใช้สอย เช่น จาน ชาม ช้อน ได้อย่างไร?
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ใช้
นักเรียนทำการ์ตูนช่องเรื่องราวเกี่ยวกับงานปั้น
วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL คู่ขนาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่อง
- ปั้นงานจากกระดาษ
- สรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับเกี่ยวกับวัสดุสังเคราะห์ที่สามารถนำมาปั้น และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำเชื้อเพลิงจากขี้วัว รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานปั้นเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้


คุณลักษณะ
:
- เคารพ สิทธิ  หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกัน


ตัวอย่างภาพกิจกรรม





ตัวอย่างภาพชิ้นงาน



1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ป.1 เรียนรู้และสร้างสรรค์ชิ้นงานปั้นจากกระดาษ คุณครูได้นำชิ้นงานของพี่ๆ ที่เคยปั้นไว้มาให้ดู หลังจากนั้นพี่ป.1 แต่ละกลุ่มร่วมกันเตรียมกระดาษที่ไม่ใช้แล้วนำมาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ขณะที่ทำนั้นพี่ป.1 หลายคนต่างตั้งคำถาม คุณครูครับ/คุณครูคะ ทำไมต้องฉีกกระดาษ ทำไมไม่แช่น้ำไว้ทั้งแผ่นแบบไม่ฉีก เราต้องแช่กระดาษไว้นานเท่าไร เราต้องผสมกาวเหมือนตอนปั้นขี้เลื่อยหรือเปล่า หมึกที่ติดกระดาษจะละลายออกมาไหม แล้วกระดาษสีขาวจะไม่กลายเป็นสีดำหรือคะ? พี่ป.1อยากรู้เราก็ต้องลองทำกันดูนะคะ พี่ป.1แต่ละคนให้ความสนใจ และตั้งใจปั้นชิ้นงานจากกระดาษในรูปแบบของตนเองออกมาได้ดี ซึ่งสังเกตเห็นว่าในขณะที่ทำงานอยู่นั้น พี่ๆแต่ละคนช่วยเหลือกัน แนะนำวิธีการปั้นให้กับเพื่อนได้ดีค่ะ

    ตอบลบ