เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจและเห็นคุณค่าของงานปั้นที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิต อีกทั้งสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ ในมิติที่หลากหลาย และถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นรับรู้เป็นรูปธรรมได้

Week 7

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการปั้นจากสิ่งที่กินได้และมีประโยชน์ต่อร่างกาย และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

Week
Input
Process
Output
Outcome

7
28พ.ย.-
2 ธ.ค.59
โจทย์ : 
ปั้นกินได้
- ฟองดอง
- แป้งหมัก

คำถาม
การปั้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำอาหาร?

เครื่องมือคิด
-
 Brainstorms : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูคลิปวีดีโอ
- Blackboard  Share : ขั้นตอนการทำฟองดองสำหรับปั้น
- Show and Share : ชิ้นงานปั้นฟองดอง
-  Wall Thinking : งานปั้นฟองดอง

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อุปกรณ์ในการทำฟองดอง น้ำตาลไอซิงค์  สีผสมอาหาร แป้ง ฯลฯ
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “ปั้นฟองดอง”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ฟองดองทำจากอะไร?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มร่วมพูดคุยวางแผนจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำฟองดอง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันจัดเตรียมอุปกรณ์ตามที่ได้รับมอบหมาย
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าฟองดองมีส่วนผสมของอะไรบ้าง รสชาติเป็นอย่างไร เก็บรักษาอย่างไร” “นักเรียนอยากปั้นเป็นรูปอะไร ทำไมถึงอยากปั้นเป็นรูปนั้น”
ชื่อม
- ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำฟองดองจากอุปกรณ์ที่เตรียมมา
- นักเรียนแต่ละคนปั้นฟองดองของตนเองอย่างน้อยคนละ 5 ชิ้น
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากการทำฟองดองและชิ้นงานปั้นฟองดอง
ใช้
นักเรียนปั้นฟองดอง (น้ำตาล)
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเราสามารถนำแป้งอะไรมาปั้นแล้วกินได้บ้าง ”
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม ในการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำแป้งหมัก
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำแป้งหมัก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำแป้งหมัก
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำแป้งหมักและพักแป้งทิ้งไว้ 1 คืน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ทำอย่างไรแป้งจะเหนียวแล้วสามารถนำมาปั้นได้
ใช้
นักเรียนทำแป้งหมักเป็นกลุ่ม
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
-ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำกล่องแป้งหมักของกลุ่มตัวเองออกมาสังเกตและสัมผัสร่วมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นแป้งเปลี่ยนไปอย่างไร มีกลิ่นเป็นอย่างไร ถ้าแป้งที่เราปั้นนำไปจี่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- ครูและนักเรียนร่วมกันชิมแป้งจี่ที่ปั้นเรียบร้อยแล้ว
ใช้
นักเรียนปั้นแป้งจี่เป็นกลุ่ม
วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำฟองดองและปั้นแป้งหมัก
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL คู่ขนาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- วาดภาพและเขียนขั้นตอนการทำฟองดอง
- ปั้นฟองดอง
- ปั้นแป้งจี่
- สรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการปั้นจากสิ่งที่กินได้และมีประโยชน์ต่อร่างกาย และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ทักษะ
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำเชื้อเพลิงจากขี้วัว รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานปั้นเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้

คุณลักษณะ
:
- เคารพ สิทธิ  หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกัน


ตัวอย่างภาพกิจกรรม







ตัวอย่างภาพชิ้นงาน



1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เป็นช่วงเวลาที่ได้หยุดยาวต่อเนื่อง ดังนั้น คุณครูมี Home School day ให้พี่ป.1 กับการทดลองทำดินญี่ปุ่นเองที่บ้าน แต่ละคนทำไม่น้อยกว่า 2 ครั้งถึงจะได้ดินปั้น....มากสุด 4 ครั้งเลยค่ะครู สิ่งที่เด็กๆ ได้ลงมือทำอะไรด้วยตนเอง นั้นช่วยให้เข้าใจกระบวนการเรียนรู้และเห็นคุณค่าในสิ่งนั้นมากขึ้น ในวันพฤหัสบดี มีกิจกรรมผู้ปกครองอาสา สร้างการเรียนรู้ “ปั้นข้าวจี่” พี่ป.1 ทั้งสนุกและอร่อยกับปั้นข้าวจี่ มีทั้งปั้นเล็ก ปั้นใหญ่ตามแต่ว่าใครชอบและอยากกินแค่ไหน เมื่อปั้นแล้วพี่ป.1 ก็สามารถรับผิดชอบในการทานจนหมดเลยค่ะ สังเกตเห็นว่าพี่ป.1 แต่ละคนกระตือรือร้นในการเรียนรู้ดีมากค่ะ

    ตอบลบ