เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจและเห็นคุณค่าของงานปั้นที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิต อีกทั้งสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ ในมิติที่หลากหลาย และถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นรับรู้เป็นรูปธรรมได้

Week 4

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติที่สามารถนำมาปั้น และปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้


Week
Input
Process
Output
Outcome
4
7-11 พ.ย.59

โจทย์ :
ปั้นจากวัสดุธรรมชาติ
- ขี้เลื่อย
- ขี้วัว
- แกลบ
- รำ

คำถาม
- นักเรียนคิดว่า ขี้เลื่อย ขี้วัว
 แกลบ รำ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?
- จะเกิดอะไรขึ้นถ้านำขี้วัวที่ปั้นแล้วมาจุดไฟ ?

เครื่องมือคิด
- Brainstorms : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติที่นำมาปั้น
- Blackboard Share : ส่วนผสมในการทำดินปั้นจากวัสดุธรรมชาติ
- Think Pair Share : รูปแบบงานปั้น
Wall Thinking : งานปั้น
- Show and Share : นำเสนองานปั้น

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ขี้เลื่อย
- ขี้วัว
- แกลบ
- รำ
- กาว
- น้ำ
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูนำ ขี้เลื่อย ขี้วัว แกลบ รำ มาให้นักเรียนสังเกตและสัมผัสร่วมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร เห็นสิ่งนั้นแล้วนึกถึงอะไร ลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันผสมขี้เลื่อยกับกาว  แกลบผสมกาว รำกับกาว แล้วนำมาปั้น
- นักเรียนแต่ละคนเลือกวัสดุในการปั้น จากขี้เลื่อย แกลบ  รำ หรือเลือกปั้นจากวัสดุทุกชนิด
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมเราต้องผสมกาว ?
ใช้
นักเรียนปั้นงานในรูปแบบของตนเองคนละ 3 ชิ้น
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูพานักเรียนไปสำรวจขี้วัว ในโรงเรียน
- แบ่งกลุ่มนักเรียนในการจัดเตรียมขี้วัวสำหรับปั้น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ขี้วัวนำไปทำอะไรได้บ้าง?
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปั้นขี้วัวในกลุ่มตนเองแล้วนำไปตากให้แห้ง
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้
นักเรียนปั้นขี้วัวเป็นกลุ่ม
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูให้นักเรียนนำขี้วัวที่ตากแห้งแล้วของแต่ละกลุ่มมารวมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นขี้วัวเปลี่ยนไปอย่างไร?
- ครูและนักเรียนร่วมกันทดลองนำขี้วัวที่ปั้นแล้วมาจุดไฟทดลองต้มน้ำให้เดือนด้วยขี้วัวที่เป็นก้อนเชื้อเพลิง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าเรานำขี้วัวมาจุดไฟจะเกิดอะไรขึ้น”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูให้นักเรียนแต่ละคนนำชิ้นงานปั้นจากขี้เลื่อย แกลบ รำ ที่ตากแห้งเรียบร้อยแล้วของตนเองออกมาวาง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนปั้นเป็นอะไร ทำไมถึงเลือกสิ่งนี้ในการปั้น สิ่งที่ปั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่ เราจะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้
นักเรียนตกแต่งชิ้นงานปั้นของตนเอง
วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ภาระงาน
- พูคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL คู่ขนาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- งานปั้นจากขี้เลื่อย แกลบ รำ
 ขี้วัว
- สรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติที่สามารถนำมาปั้น และปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำเชื้อเพลิงจากขี้วัว รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานปั้นเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้

คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกัน

ตัวอย่างภาพกิจกรรม









ตัวอย่างภาพชิ้นงาน







1 ความคิดเห็น:

  1. พี่ๆป.1 เรียนรู้การเผาดินปั้น ด้วยอุปกรณ์เท่าที่เรามีก่อนครั้งแรก ปรากฏว่า คุณครูครับ/คุณครูคะ สีดินเปลี่ยน มีกลิ่นเหม็นไหม้ เคาะแล้วมีเสียง บางชิ้นก็แตก....แล้วพี่ๆป.1 เราจะทำอย่างไร? ขอบคุณคุณตาพี่ป๋อ อาสาร่วมสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ วันถัดมาพี่ป.1 ร่วมกันเตรียมขี้เลื่อย รำนำมาผสมกับกาวแล้วมาปั้นเป็นชิ้นงาน พอตากแห้งแล้วพี่ป.1 ต่างสังเกตเห็นว่าครูครับ/ครูคะ มีราสีเขียวๆ ขาวๆ ขึ้นตรงพื้นด้านล่างของชิ้นงานเราด้วยค่ะ แล้วพี่ป.1 คิดว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นคะ ครูครับ/ครูคะ อาจเป็นเพราะเป็นส่วนที่ได้ถูกแดดราก็เลยขึ้น อีกทั้งเป็นสัปดาห์แรกของการเริ่มกิจกรรมผู้ปกครองอาสา วันนี้มีแม่พี่หนุน แม่พี่นโมมาร่วมทำกิจกรรม “หล่อปูนพลาสเตอร์” พี่ป.1 ทั้งสนุก ทั้งตื่นตื่นเต้นกับการทำหล่อปูนพลาสเตอร์มากทีเดียวค่ะ หลังจากทำเสร็จเรียบร้อยพี่ๆป.1 ทุกคนช่วยกันเก็บกวดบริเวณพื้นที่ทำร่วมกัน วันศุกร์เป็นวันพี่ป.1 สนุกกับการปั้นดินเป็นถ้วยชามที่สามารถใช้ได้จริง เตรียมสำหรับใส่งานปั้นกินได้กันค่ะ

    ตอบลบ