เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจและเห็นคุณค่าของงานปั้นที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิต อีกทั้งสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ ในมิติที่หลากหลาย และถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นรับรู้เป็นรูปธรรมได้

Week 1

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจ และสามารถพูดอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างสมเหตุสมผล

Week
Input
Process
Output
Outcome

1
25-28 ต.ค.59

โจทย์ :
สร้างฉันทะ /สร้างแรงบันดาลใจ
- สิ่งที่อยากเรียนรู้/ ชื่อหน่วย
- สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้

คำถาม
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้เรื่องนี้ ?        

เครื่องมือคิด
       
Brainstorms : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับดินและขั้นตอนการหมักดินสำหรับปั้น
- Round Robin : แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานปั้น(Home School day )
- Wall and Talk : พูดคุยในการสำรวจรอบบริเวณโรงเรียน
- Card and Chart  : วาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้
- Blackboard Share : ตั้งชื่อหน่วย
- Show and Share : งานปั้น

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บริเวณรอบโรงเรียน
- คลิปวีดีโอ “กระบี่มือหนึ่ง ตอน นักปั้นจิ๋ว”
- ดินปั้นชนิดต่างๆ
- ถังน้ำ ไม้กวด น้ำ ตะแกรงร่อน
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูให้นักเรียนแต่ละคนเล่าถึงสิ่งที่ตนเองปั้นมาจากบ้าน (Home School day ) คนละ 5 อย่าง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนปั้นเป็นอะไร ทำไมถึงเลือกปั้นสิ่งนั้น  และใช้อะไรในการปั้น มีวิธีการปั้นอย่างไร ปั้นกับใครบ้าง?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ทำ(Home School day )
- ให้นักเรียนแต่ละคนได้ตั้งคำถามสิ่งที่อยากรู้จากสิ่งที่เพื่อนปั้นมา
ชง
 - ครูให้นักเรียนร่วมกันแยกชนิดของดินที่ใช้ปั้น
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแยกและจัดหมวดหมู่ชนิดของดินที่ปั้น
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจสิ่งต่างๆ รอบบริเวณโรงเรียน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “สังเกตเห็นอะไรทีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง  รู้สึกอย่างไร  สิ่งที่เราเห็นทำจากอะไร เมื่อก่อนเป็นอย่างไร ทำไมถึงเปลี่ยนไป ?
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มหาดินในโรงเรียนสำหรับหมักดินในการปั้น
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
ชง
- ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำกระบวนการหมักดิน (ถังน้ำ ไม้กวด น้ำ ตะแกรงร่อน)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เราจะเตรียมดินอย่างไรให้เหมาะกับการปั้น”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันทำการหมักดินสำหรับปั้นเป็นกลุ่ม
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการหมักดินสำหรับปั้น
ใช้
นักเรียนแต่ละกลุ่มหมักดินสำหรับงานปั้น
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “กระบี่มือหนึ่ง ตอน นักปั้นจิ๋ว”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร สิ่งที่เห็นคืออะไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุใด”
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้เรื่องนี้?"  
- นักเรียนวาดภาพหรือเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ พร้อมเหตุผลที่อยากเรียนรู้
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันจัดหมวดหมู่เรื่องที่อยากเรียนรู้
- นักเรียนได้นำเสนอเรื่องที่อยากเรียนรู้ร่วมกัน
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยให้น่า สนใจ และอยากเรียนรู้อย่างไร?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้  Quarter 3/59  
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้อะไรบ้างและอยากเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับหน่วย “ช่างปั้น”?     
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้ในหน่วย Quarter 3/59  
- ครูและนักเรียนช่วยกันขมวดสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ ใช้เครื่องมือ Think pair share
- นักเรียนช่วยกันเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ลงในชาร์ตแผ่นใหญ่
วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
 - พูดคุย ถามตอบเกี่ยวกับคลิปวีดีโอที่ได้ดู
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL คู่ขนาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้และชื่อหน่วย
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นสิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

 ชิ้นงาน
- เขียนและวาดภาพขั้นตอนการเตรียมดินปั้น
- วาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้
- สรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจ และสามารถพูดอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างสมเหตุสมผล

ทักษะ
 :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้  รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ

คุณลักษณะ
:
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

ตัวอย่างภาพกิจกรรม





















ตัวอย่างชิ้นงาน






สิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้




1 ความคิดเห็น:

  1. วันแรกของการเปิดเรียนใน Q.3/59 เด็กๆถามเลยว่า คุณครูครับ/ค่ะ Q,3 เราจะเรียนอะไรกันดี พวกเรารู้นะว่าคุณครูเตรียมไว้แล้ว และในวันนี้ช่วงบ่ายของการเรียนรู้ PBL ทั้งคุณครูและพี่ๆป.1 ได้ไปหาดินเพื่อที่จะทำดินเหนียวสำหรับปั้นกันเอง คุณครูแบ่งให้ทำเป็นคู่ ขณะที่ทำสังเกตเห็นว่าพี่ป.1 นั้นสามารถทำงานร่วมกัน ฟังและยอมรับความคิดเห็นของคู่ตนเอง ช่วยกันหาดิน ช่วยกันยกดินกลับ ช่วยกันเตรียมดินด้วยกันทุกขั้นตอน จนสามารถได้ดินที่พร้อมสำหรับปั้น จากนั้นพี่ป.1 ได้ทดลองปั้นดินที่ทำด้วยตนเอง ปรากฏว่าทุกคู่สามารถทำได้ ดินที่ปั้นนั้นเมื่อแห้งแล้วมีความแข็งมาก พี่ป.1 ดีใจและภูมิใจว่าตนเองสามารถทำดินเหนียวปั้นเองได้ วันต่อมาพี่ป.1 และคุณครูพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในสิ่งที่อยากเรียนรู้ ปรากฏว่าทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันเลยค่ะว่าอยากรู้เรื่องดินและการปั้นจากสิ่งต่างๆที่ไม่ใช่เพียงแค่ดินค่ะคุณครู และพี่ป.1 ได้ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ใน Q.3/59 คือ เด็กช่างปั้น

    ตอบลบ