เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):นักเรียนเข้าใจและเห็นคุณค่าของงานปั้นที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิต อีกทั้งสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ ในมิติที่หลากหลาย และถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นรับรู้เป็นรูปธรรมได้

Week 3

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติที่สามารถนำมาปั้น และปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

3
2226
ต.ค.59


โจทย์ :
ปั้นจากวัสดุธรรมชาติ
- ดินเหนียว
- ดินทราย

คำถาม
นักเรียนคิดว่าวัสดุธรรมชาติอะไรบ้างที่สามารถนำมาปั้นได้ มี?ทำไมสิ่งนั้นถึงนำมาปั้นได้?
- ทำไมต้องเผาดิน แล้วการเผาดินให้สุกทำอย่างไร?

เครื่องมือคิด
- Brainstorms : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติ
- Blackboard Share : ชนิดของวัสดุธรรมชาติที่ปั้นได้
- Think Pair Share : ความเหมือนความต่างของดิน
-  Wall Thinking : งานปั้น
- Show and Share :นำเสนองานปั้น

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ดินเหนียว
- ดินทราย
- เตาเผาดิน
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าวัสดุธรรมชาติอะไรบ้างที่สามารถนำมาปั้นได้?ทำไมสิ่งนั้นถึงนำมาปั้นได้?
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดหาดินที่เหมาะสมกับการปั้นและหมักดินเตรียมสำหรับปั้น
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันหมักดินสำหรับปั้นของกลุ่มตนเอง
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูนำดินเหนียวและดินทรายมาให้นักเรียนได้สังเกตและสัมผัสดินร่วมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าดินเหนียว ดินทราย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ? ดินชนิดไหนที่สามารถปั้นได้ เราจะปั้นได้อย่างไร? “เราจะทำอย่างไรให้ดินที่เราปั้นนั้นแห้ง แล้วคงรูปดังเดิม?
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนปั้นดินเหนียวและดินทรายในรูปแบบของตนเอง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนปั้นเป็นอะไร ทำไมถึงเลือกสิ่งนี้ในการปั้น สิ่งที่ปั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่ เราจะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร” ?” จะทำอย่างไรให้สิ่งที่เราปั้นจากดินนั้นคงสภาพและใช้งานได้จริง?
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ทำ
ใช้
นักเรียนปั้นงานในรูปแบบของตนเอง
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนนำงานปั้นของแต่ละคนที่ปั้นจากดินเหนียวและดินทรายมาสังเกตเมื่อแห้งแล้ว
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ระหว่างดินเหนียวกับดินทรายงานปั้นจากอะไรยังคงรูปเหมือนเดิม หรือเปลี่ยนไปอย่างไร ทำไมถึงเปลี่ยน?นักเรียนคิดว่าอะไรที่ช่วยทำให้ดินมีความเหนียว?  เราจะมีวิธีการเก็บรักษาดินเหนียวไว้นานๆ ได้อย่างไร? ดินเหนียวสามารถเพาะปลูก เช่น ผักผลไม้ หรือข้าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด?
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ทำ
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนนำงานปั้นของตนเองมาทดลองเผ่าในเตาเผาดิน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าดินเมื่อโดนความร้อนจะเป็นอย่างไร แล้วสิ่งที่ปั้นไว้จะเปลี่ยนไปอย่างไร คิดว่าเป็นเพราะอะไร?การเผาดินให้สุกทำอย่างไร?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
- นักเรียนนำชิ้นงานปั้นของตนเองที่เผาแล้วมาตกแต่งเพิ่มเติม
- นักเรียนนำเสนองานที่ผ่านการเผาแล้ว
วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ภาระงาน
- พูคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- พูดคุยเกี่ยวกับการกิจกรรมการเผาดิน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม PBL คู่ขนาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- งานปั้นจากวัสดุธรรมชาติ
- สรุปบทเรียนรายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติที่สามารถนำมาปั้น และปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำเตาเผา รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
 อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้

คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
-ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
  - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
  - กระตือรือร้นในการเรียนรู้
  - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกัน


ตัวอย่างภาพกิจกรรม














ตัวอย่างภาพชิ้นงาน





1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นสัปดาห์ที่พี่ป.1 เรียนรู้งานปั้นด้วยวัสดุธรรมชาติ พี่ป.1 สามารถคิดและบอกได้ว่าเรานั้นสามารถนำวัสดุธรรมชาติมาสร้างสรรค์เป็นงานปั้นได้ เช่น เรานำแกลบ รำ ขี้เลื่อย แต่ว่า 3 อย่างนี้เราต้องผสมกาวก่อนถึงจะปั้นได้ครับ/ค่ะ แต่ถ้าเป็นดินเหนียวเราไม่ต้องผสมกาวเลยเพียงแค่ใช้น้ำในการนวดดินให้เข้ากันเราก็นำมาปั้นได้แล้วรับ/ค่ะ พี่ป.1 ได้นำทรายมาลองปั้นด้วยการผสมน้ำ เมื่อปั้นเสร็จต่างก็บอกว่าครูครับ/ครูค่ะ ทรายปั้นได้ก็จริงค่ะถ้าเปียกน้ำแต่เมื่อทรายแห้งก็จะกลายเป็นทรายเหมือนเดิมไม่คงรูปเหมือนดินเหนียวเลย คุณครูถามต่อว่า อะไรที่เป็นปัจจัยในการทำให้ชิ้นงานปั้นแห้ง หลายคนสามารถบอกได้อย่างมีเหตุมีผล ว่า ลมที่ได้จากธรรมชาติ ลมจากพัดลมแต่เราต้องใช้ไฟฟ้า แล้วก็ลมจากปากเราครับ/ค่ะ และแสงแดดจากดวงอาทิตย์ พี่ป.1 ได้นำชิ้นงานปั้นของตนเองมาแต่งแต้มสีสันได้อย่างสวยงามเลยทีเดียว สัปดาห์นี้ตามที่ครูวางแผนไว้ว่าจะทดลองการเผาดิน ต้องเลื่อนไปเป็นสัปดาห์ที่ 4 เนื่องจากมีฝนตกทุกวันอากาศไม่เอื้อยต่อการเผาดินค่ะ

    ตอบลบ